เมนู

อันเป็นกุศลและอกุศลโดยไม่วิปริต (ไม่ผิด) แม้ในวัตถุหนึ่ง โดยนัยนี้ว่า
ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มีจำนวนมากฆ่าอยู่ซึ่งสัตว์หนึ่งนั่นแหละ
เจตนาของเขาผู้นี้จักไปสู่นิรยะ และเจตนาของผู้นี้จักถึงกำเนิดใน
สัตว์เดียรัจฉาน
ดังนี้.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 4


คำว่า อเนกธาตุํ ได้แก่ ทรงทราบธาตุมากมายมีจักขุธาตุเป็นต้น
หรือกามธาตุเป็นต้น. คำว่า นานาธาตุํ ได้แก่ธาตุนานัปการ (มีประการต่างๆ)
เพราะความที่ธาตุเหล่านั้นนั่นแหละมีลักษณะต่างกัน. คำว่า โลกํ ได้แก่ โลก
คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ. คำว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ได้แก่ ทรงแทง
ตลอดซึ่งธาตุเหล่านั้น ๆ โดยไม่วิปริต.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 5


คำว่า นานาธิมุตฺติกตํ (แปลว่า มีอัธยาศัยต่างๆ กัน) ได้แก่
ทรงทราบซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน คือ มีอัธยาศัยอัน
เลวเป็นต้น.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 6


คำว่า ปรสตฺตานํ (แปลว่า ของสัตว์เหล่าอื่น) ได้แก่ ของสัตว์ผู้
เป็นใหญ่. คำว่า ปรปุคฺคลานํ (แปลว่า ของบุคคลเหล่าอื่น) ได้แก่ สัตว์
ต่ำช้า. อีกอย่างหนึ่งบททั้งสองที่กล่าวมานี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน การที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้สองอย่างด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่ควรแนะนำ.
คำว่า อินฺทริยปโรปริยตฺตํ (แปลว่า ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์)
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งความเป็นไปแห่งสัตว์อื่น ๆ และ
ทรงทราบความเสื่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น.